รับชุบสีสแตนเลส มีทั้งระบบสีฝุ่น และระบบ PVD

การทำสี สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่เอาสีธรรมดาพ่น ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำ สีกระป๋อง หรือสีอุตสาหกรรมต่างๆ คุณภาพของสีที่ได้ ก็จะอยู่กับคุณภาพของการยึดเกาะบนผิวสแตนเลส

ข้อแตกต่างระหว่างทำสีสแตนเลส แบบสีฝุ่นอบ กับ สี PVD

เราได้รวมข้อมูลแบบสรุปเพื่อเอาไว้ให้ค้าตัดสินใจในการเลือกทำสีสแตนเลสไว้ให้ครับ ข้อมูลสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทั้งเบอร์หรือไลน์ของเราครับ

ชุบสีสแตนเลส ระบบสีฝุ่นอบ (Powder Coating)

Powder Coating คืออะไร

การทำสีแบบ “Powder Coating” เป็นวิธีการใส่สีที่ใช้ผงสี (Powder) มาฉีดบนวัตถุที่ต้องการทำสี แล้วนำไปอบในเตาอุณหภูมิสูงเพื่อให้ผงสีละลายและติดตัวกับวัตถุนั้น วิธีการนี้ทำให้สีที่ได้มีความแข็งแรง ทนทาน และสวยงามมากกว่าการทำสีด้วยวิธีอื่นๆ ปกติจะมีขั้นตอนดังนี้:

การเตรียมผิว: ก่อนการทำสีต้องทำความสะอาดผิววัตถุ นำออกไขมัน สนิม หรือฝุ่นต่างๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้สีติดติดกับผิวของวัตถุได้ดีที่สุด

การฉีดผงสี: ผงสีจะถูกฉีดออกมาจากปืนฉีดผงสีโดยใช้แรงดันลม โดยส่วนของผงสีจะมีค่าประจุไฟฟ้า ทำให้ผงสีติดต่อวัตถุที่มีค่าประจุตรงกันข้าม

การอบผงสี: หลังจากฉีดผงสีลงบนวัตถุแล้ว วัตถุที่ฉีดสีจะถูกนำเข้าไปอบในเตาอุณหภูมิสูง เพื่อให้ผงสีละลายและติดตัวกับวัตถุ ผลลัพธ์ที่ได้คือสีที่แนบแน่นและมีความสวยงาม

การเย็น: หลังจากที่วัตถุอบสีเสร็จสิ้น วัตถุจะต้องถูกเย็นลงในสภาพแวดล้อมปกติเพื่อให้สีแข็งตัวและติดตัววัตถุได้ดี

การทำสีแบบ Powder Coating มีข้อดีหลายประการ เช่น สีที่ได้มีความแนบแน่น มีความหนาแน่น ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และสวยงามมากกว่าการทำสีด้วยวิธีอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการใช้สารเคมีน้อยลง เนื่องจากไม่มีการใช้สารละลายในกระบวนการ ทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเช่นกัน

จุดเด่นของ Powder Coating

สีฝุ่นอบ (Powder Coating)
ผงสี (Powder)

ความทนทาน

สีฝุ่นทนกว่าสีน้ำแบบชัดเจนมากนะครับ ถึงจะสู้ PVD ไม่ได้แต่ก็ทนรอยขีดข่วน ทนเคมี

ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ไม่มีทินเนอร์ ไม่มีสารละเหย ไม่มีสารตกค้าง

ความสวยงาม

ผงสีหนาประมาณ 40 – 80 ไมครอน เรียบเนียนไปกับชิ้นงานทั้งหมดเลย

การใช้งานที่ง่าย

ผงสีวิ่งเข้าหาชิ้นงานด้วยประจุไฟฟ้า ทำให้มีความเรียบเนียน สม่ำเสมอเท่ากันทุกส่วน

ผลงานทำทีสี Powder Coating บนสแตนเลส

Powder Coating ทำบนวัสดุอะไรได้บ้าง

เหล็ก และเหล็กกล้า: รวมถึงสินค้าจากเหล็กหล่อ, เหล็กกล้าแผ่น, และโปรไฟล์เหล็ก

อลูมิเนียม: เช่น โปรไฟล์อลูมิเนียม, ชิ้นส่วนที่ผลิตจากอลูมิเนียม

สังกะสี: หลายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสังกะสีจะได้รับการทำสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อน

พลาสติกที่ทนอุณหภูมิสูง: บางชนิดของพลาสติกที่สามารถทนต่ออุณหภูมิสูง สามารถรับการทำสีแบบ Powder Coating ได้

เซรามิก: ในบางกรณี, เซรามิกที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรือการตกแต่งอาจถูกทำสีด้วยวิธีนี้

ผงสี (Powder Coating)

ผงสี (Powder Coating) มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน สำคัญคือต้องเลือกใช้แบบที่เหมาะกับงานและสภาพแวดล้อมที่ต้องการนำไปใช้งาน ต่อไปนี้เป็นการระบุแบบพื้นฐานของผงสี:

ผงสีอีป็อกซี่ (Epoxy Powders): มีความแข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี และสภาพแวดล้อมภายใน แต่ไม่ทนต่อแสงแดด จึงไม่เหมาะกับการใช้งานภายนอกบ้าน

ผงสีโพลีเอสเตอร์ (Polyester Powders): ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอก มีความยืดหยุ่น และสามารถทนต่อแสงแดดได้ดี ปกติจะถูกใช้ในการทำสีงานภายนอกต่างๆ

ผงสีอีป็อกซี่-โพลีเอสเตอร์ (Epoxy-Polyester Powders): เป็นผสมระหว่างอีป็อกซี่และโพลีเอสเตอร์ มีคุณสมบัติเป็นกลางระหว่างทั้งสองแบบ ทั้งความทนทานและความยืดหยุ่น ***งานเฟอร์นิเจอร์ งานมือจับประตู งานอุปกรณ์ห้องน้ำ ใช้สีตัวนี้ครับ งานเสาราวกันตก ปกติเราใช้ตัวนี้ครับ ***

ผงสีโพลียูรีเทน (Polyurethane Powders): มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสารเคมี แต่มีความยืดหยุ่นน้อยกว่าโพลีเอสเตอร์

ผงสีอะคริลิก (Acrylic Powders): ให้ความเงาสวยงาม แต่อาจจะไม่ทนทานเท่ากับผงสีแบบอื่นๆ

ผงสีฟลูโอโรโพลีเมอร์ (Fluoropolymer Powders): มีความทนต่อสภาพแวดล้อมและแสงแดดเป็นอย่างดี จึงเหมาะกับการใช้งานภายนอกที่ต้องการความทนทานสูง

กระบวนการชุบสีสแตนเลส ระบบ Powder Coating

การเตรียมผิว: ชิ้นงานสแตนเลส เมื่อต้องการนำมาอบสีเราจะแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ ถ้าเป็นสีทึบก็จะทำความสะอาด เช็ดไขมันออก แล้วเริ่มพ่นได้ ส่วนชิ้นงานที่ทำสีใสทะลุผิว จะต้องเก็บรอย เช็ครอยขีดข่วยด้วย ดังนั้นการทำสีใสต้องทำชิ้นงานมาให้ดี

การฉีดผงสี: ตอนพ่นสีเราจะพยายามพ่นให้ทั่วที่สุด ทั้งตรงร่อง ขอบ มุมฉาก และมุมอับ แต่มุมแต่แคบมากจริงๆ อาจจะเข้าไม่ถึง ฉนั้นชิ้นงานที่มีมุมที่แคบมากๆ จะไม่เหมาะกับการทำสีแบบนี้ครับ

การอบผงสี: หลังจากฉีดผงสีลงบนชิ้นงานแล้ว จะเอาเข้าตู้อบ ที่ประมาณ 190 – 220 องศาเซลเซียส เวลา 15 – 25 นาที แล้วแต่ชิ้นงาน

การเย็น: เมื่ออบแล้วจะถูกพักให้เย็นตามอากาศปกติ แล้วหุ้มชิ้นงานเก็บไว้รอส่งครับ

สีที่สามารถพ่นได้

เราขอแบ่งเป็นสี 2 แบบ คือสีใสสำหรับงานสแตนเลส หรือวัสดุผิววาวสะท้อนแสง กับสีทึบที่มองไม่เห็นผิว

  1. สีใสเห็นทะลุผิว (เน้นการทำชิ้นงานบนสแตนเลส หรือวัสดุผิวมันวาว)
    • สีทอง (Gold)
    • สีทองคำขาว (White Gold)
    • แชมเปญทอง (Champagne Gold )
    • สีโรสโกล์ด (Rose Gold )
    • พิ้งโกล์ด (Pink Gold )
    • สีทองแดง (Copper )
    • น้ำตาล (Brown )
    • ทองสัมฤทธ์ (Bronze)
    • นิเกิ้ลซิลเวอร์ (Nickel Silver)
    • ทองแดง (Copper)
    • สีเทา (Gray)
    • สีฟ้า (Blue )
    • สีอื่นๆ สามารถเทียบสีได้ (ต้องรอทำสีตัวอย่างและจ่ายค่าสีเอง)
  2. สีทึบมองไม่เห็นผิว
    • สีดำเรียบ
    • สีดำซาฮาร่า (ดำเม็ดทราย)
    • สีขาวเรียบ
    • สีดำซาฮาร่า (ดำเม็ดทราย)
    • สีแดงซาฮาร่า (ดำเม็ดทราย)
    • สีเทาซาฮาร่า (ดำเม็ดทราย)

สั่งทำสีพิเศษได้ไหม

สั่งได้ โดยทำเริ่มต้น 2 โล โลละ 2000 บาท ยังไม่รวมกับค่าพ่นสีบนชิ้นงาน ส่งสี approve ก่อน เริ่มชิ้นงานจริงเท่านั้น



ชุบสีสแตนเลส ระบบพลาสม่าสุญญากาศ (PVD Coating)

PVD Coating คืออะไร

เป็นการเคลือบผิวชิ้นงานด้วยสีแบบระบบไฟฟ้า เป็นการใช้ไฟฟ้าทำให้โลหะเป็นไออนไฟฟ้าแล้วเติมก๊าซรวมถึงกระแสไฟที่เหมาะสม ทำให้เกิดสีต่างๆตามต้องการ

จุดเด่นนของ PVD Coating

ผิวเรียบ บาง แข็งแรงทนทาน ทนความร้อนได้สูง

PVD Coating ทำบนวัสดุอะไรได้บ้าง

ที่ร้านเรารับทำแต่สีบนชิ้นงานสแตนเลสเท่านั้นครับ

กระบวนการชุบสีสแตนเลส ระบบ PVD Coating

  1. ทำชิ้นงานสแตนเลสให้เสร็จ ขัดผิวให้เสร็จตามต้องการ เช่นผิวเงา ผิวขนแมว ผิวซาติน
  2. ทำความสะอาดชิ้นงาน ล้างคราบสิ่งสกปรกออก
  3. เริ่มอบ
  4. 4 เสร็จสิ้น ตรวจเช็คงานและแพคเพื่อกันรอยกระแทก

ผลงานที่ออกมา

สีที่สามารถพ่นได้

  • ทอง (Gold
  • ทองคำขาว (White Gold)
  • โรสโกล์ด (Rose Gold)
  • ทองแดง (Copper)
  • ทองสัมฤทธ์ (Bronze)
  • นิเกิ้ลซิลเวอร์ (Nickel Silver)
  • น้ำตาล (Brown)
  • ดำ/แกรไฟต์ (Black/Graphite)

การสั่งทำสีพิเศษที่ไม่มีอยู่ในตลาด ขอให้สอบถามก่อนนะครับ เพราะโดยมากแล้วต้องการทำสีให้ไกล้กับโลหะมีค่าแบบอื่นๆ

การเตรียมชิ้นงานเพื่อชุบสีสแตนเลส ระบบ PVD Coating

การผลิตและเตรียมชิ้นเพื่อที่จะสามารถนำมาชุบ PVD แล้วสวย

  1. ขัดผิวให้สวยตามต้องการ
  2. เชื่อมทุกรอยต่อไม่ให้เกิดการทะลุของไอภายชิ้นงานขณะอบ
  3. หุ้มชิ้นงาน เพื่อไม่ให้เกิดรอยระหว่างขนส่งมาทำสีชิ้นงาน

ข้อห้ามต่างๆในการทำสีสีสแตนเลส ระบบ PVD Coating

รอยต่างๆพวกนี้เกิดจากการไม่ตั้งใจให้เกิดตอนที่กำลังจะทำชิ้นงาน

รับพ่นสี สแตนเลส

การเตรียมชิ้นงานสำหรับ รับพ่นสี สแตนเลส ต้องขึ้นชิ้นงานเสร็จ ขัดผิวเสร็จแล้ว ถึงจะมาทำสีได้ หากทำเสร็จแล้วไปเชื่อมสีจะไหม้ หากนำไปตัดด้วยเครื่องตัด แนะนำให้ตัดด้วยเครื่องตัดสายพาน

ราคาค่าทำสีสแตนเลส

เนื่องจากชิ้นงานสแตนเลส มีทั้งงานเฟอร์นิเจอร์เป็นเส้น และงานเป็นชิ้นใหญ่ ทางเราจึงขอคิดค่าบริการตามชิ้นงาน โดยขอตีราคาตามแบบ หรือส่งชิ้นงานมาเพื่อตีราคาครับ